9-11 November 2022
เดอะสุโกศล กรุงเทพ
The Global Interprofessional Education Conference: GIPEC 2022, Nov 9-11, 2022

โครงการประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อการพัฒนาการศึกษาสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพ พ.. 2565

The 2nd Global Interprofessional Education Conference: GIPEC 2022

ประเด็นหลัก “How Education Sector Responds to VUCA Health Systems”

ระหว่างวันพุธที่ 9 – 10 พฤศจิกายน 2565 และ

ประชุมเชิงปฏิบัติการ วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2565

ณ โรงแรมเดอะสุโกศล กรุงเทพ

  1. ชื่อโครงการ

1.1 ชื่อภาษาไทย

การประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อการพัฒนาการศึกษาสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพ พ.ศ. 2565

1.2 ชื่อภาษาอังกฤษ

The 2nd Global Interprofessional Health Professional Education Conference 2022

1.3 ชื่อย่อ

GIPEC 2022

1.4 ประเด็นหลัก (Theme) ของการประชุม

          “How Education Sector Responds to VUCA Health Systems”

  1. หน่วยงานรับผิดชอบ

          มูลนิธิพัฒนาการศึกษาบุคลากรสุขภาพแห่งชาติร่วมกับองค์กรทางการศึกษาบุคลากรสุขภาพ และสภาวิชาชีพสุขภาพทุกวิชาชีพ

  1. หลักการและเหตุผล

คณะกรรมการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การศึกษาสําหรับบุคลากรสุขภาพในศตวรรษที่ 21 (พ.ศ. 2561-พ.ศ.2570) ได้รับการแต่งตั้งโดยคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เพื่อดำเนินการขับเคลื่อนการปฏิรูปการ ศึกษาบุคลากรสุขภาพในระยะที่ 2 อย่างต่อเนื่อง จากแผนยุทธศาสตร์การศึกษาสําหรับบุคลากรสุขภาพในศตวรรษที่ 21  (พ.ศ. 2557-พ.ศ. 2561) โดยเน้นการมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่ายพัฒนาการศึกษาบุคลากรสุขภาพทุกสาขาวิชาชีพ ในรูปแบบเป็นทางการ ไม่เป็นทางการ และจิตอาสา

หนึ่งในกิจกรรมหลักของการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การศึกษาสําหรับบุคลากรสุขภาพคือการจัดประชุมวิชาการประจำปีเพื่อกําหนดนโยบายในการพัฒนาการศึกษาบุคลากรสุขภาพทุกสาขาวิชาชีพ ได้แก่ กายภาพบําบัด ทันตแพทย์ เทคนิคการแพทย์ พยาบาล แพทย์ แพทย์แผนไทย เภสัชกร สัตวแพทย์ และสาธารณสุข ซึ่งมีจุดมุ่งหมายให้บุคลากรวิชาชีพสุขภาพตระหนักถึงความสําคัญของการพัฒนาการศึกษาบุคลากรวิชาชีพสุขภาพ โดยเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกสาขาวิชาชีพ สถาบัน องค์กรภาครัฐ เอกชน และประชาชนจากทุกภาคส่วนกําหนดนโยบายจากหลักฐานทางวิชาการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กรณีศึกษา

ที่ผ่านมา คณะกรรมการขับเคลื่อนฯ ได้ดำเนินการจัดการประชุมวิชาการประจำปีระดับชาติ และระดับนานาชาติเพื่อการพัฒนาการศึกษาสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพมาอย่างต่อเนื่อง โดยหัวข้อประเด็นหลัก (Theme) ในการประชุมแต่ละปี กําหนดโดยความสอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์และวัตถุประสงค์ของการประชุม ดังนี้

  • การประชุมวิชาการประจำปีระดับชาติ ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2557 “ปฏิรูปสถาบัน สู่สังคมการเรียนรู้ เพื่อสุขภาวะ” “Institutional Reform towards Learning Society for Health”
  • การประชุมวิชาการประจำปีระดับชาติ ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2558 “ปฏิรูปการเรียนรู้ สู่สมรรถนะและหัวใจ” “Instructional Reform for Competent and Humanized Health Professionals”
  • การประชุมวิชาการประจำปีระดับชาติ ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2559 “เรียนร่วมวิชาชีพ สู่ทีมสุขภาพไทย” “IPE towards Thai Health Team”
  • การประชุมวิชาการประจำปีระดับชาติ ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2560 “เทคโนโลยีสารสนเทศ เสริมพลัง สร้างวิชาชีพสุขภาพ” “ICT to Empower Health Professional Education”
  • การประชุมวิชาการประจำปีระดับชาติ ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2561 “ผนึกพลังภาคี ปฏิรูประบบสุขภาพ” “Synergizing Partners: The Key Health Systems Reform”
  • การประชุมวิชาการประจำปีระดับชาติ ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562 “ประกันคุณภาพเชิงสร้างสรรค์ สู่คุณภาพการศึกษา” “Creative accreditation for better quality education”
  • การประชุมวิชาการประจำปีระดับนานาชาติ ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2564 (The Global Interprofessional Education Conference: GIPEC 2021) “How Education sector responds to VUCA Health System” ในรูปแบบ Webinar Series และ Virtual conference ผ่าน Zoom webinar

โดยการประชุมทุกครั้งที่ผ่านมา มีผู้เข้าร่วมจากเครือข่ายการพัฒนาการศึกษาบุคลากรสุขภาพทั้งจากประเทศไทยและจากต่างประเทศ สำหรับการประชุมวิชาการประจำปีระดับนานาชาติ ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2565 (The Global Interprofessional Education Conference: GIPEC 2022) ในปีนี้ คณะอนุกรรมการจัดการประชุมววิชาการฯ ได้กําหนดหัวข้อหลักการประชุมครั้งนี้ คือ “How Education sector responds to VUCA Health System” มีจุดมุ่งหมายเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปการพัฒนาการศึกษาบุคลากรด้านสุขภาพ ภายใต้ความร่วมมือของสถาบันการศึกษา องค์กรวิชาชีพ สถาบันในระบบบริการสาธารณสุขชุมชน ตลอดจนเครือข่ายระบบสุขภาพระดับอําเภอ (District Health System) ในเขตบริการสุขภาพ เพื่อความร่วมมือในการดําเนินงานและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนบุคลากรสุขภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของระบบสุขภาพและชุมชน อย่างต่อเนื่อง ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ทั้งในสถานการณ์โรคระบาด สถานการณ์ฉุกเฉิน และในสถานการณ์ปกติ

การประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อการพัฒนาการศึกษาสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพ พ.ศ. 2565 เปิดเวทีเพื่อการปรึกษาหารือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินการปรับเปลี่ยนด้านการเรียนการสอนทั้งในสถาบันและในระบบสุขภาพในรูปแบบชีวิตวิถีใหม่ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์โรคระบาด การสะท้อนถึงกระบวนการจัดการเรียนการสอนจากผู้เรียน ผู้สอน ผู้บริหารสถาบัน องค์กรวิชาชีพ และผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ การนำเสนอรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม จากการศึกษา วิจัย  กรณีศึกษา และวิเคราะห์สถานการณ์ เพื่อนํามากําหนดเป็นนโยบายระดับชาติด้านการพัฒนาการศึกษาบุคลากรสุขภาพในการปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดการเรียนการและการบริการสุขภาพภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉินในปัจจุบันและอนาคต เพื่อเตรียมความพร้อมของบุคลากรสุขภาพในการทำงานในชุมชน ทั้งในมิติด้านสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ จิตใจ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งทําให้ประชาชนมีสุขภาวะ และความเป็นอยู่ที่ดี มีความพร้อมรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุข

  1. วัตถุประสงค์
  • เพื่อสร้างความเข้าใจ ความมุ่งมั่น และโมเมนตัมในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
  • เพื่อพัฒนากลไกและกระบวนการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการพัฒนาการศึกษาสําหรับ บุคลากรด้านสุขภาพ
  • เพื่อสนับสนุนการสร้าง จัดการและสื่อสารองค์ความรู้ในเรื่องการพัฒนาการศึกษาสําหรับบุคลากรด้านสุขภาพ
  • สร้างขีดความสามารถและเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสาขาวิชาชีพและระหว่างสถาบันทั้งในระดับชาติและนานาชาติในการ พัฒนาการศึกษาสําหรับบุคลากรด้านสุขภาพ
  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมทางการศึกษาวิชาชีพสุขภาพ และร่วมสร้างงานวิจัยในพื้นที่เพื่อนํา องค์ความรู้ต่อยอดและขยายในการพัฒนาการศึกษาวิชาชีพสุขภาพเพื่อสุขภาพคนไทยที่ดีขึ้น
  1. รูปแบบการดำเนินการ
  • จัดประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อการพัฒนาการศึกษาสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพ โดยเป็นกิจกรรมวิชาการและการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ไปพร้อมกัน ได้แก่การบรรยายจากวิทยากรผู้ทรง คุณวุฒิ ที่มีชื่อเสียง และได้รับการยอมรับ การสะท้อนถึงกระบวนการจัดการเรียนการสอนจากผู้เรียน ผู้สอน ผู้บริหารสถาบัน องค์กรวิชาชีพ และผู้มีส่วนได้เสียต่างๆการนําเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมการเรียนการสอน การแลกเปลี่ยน การนำเสนอรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม จากการศึกษา วิจัย  กรณีศึกษา และวิเคราะห์สถานการณ์ เพื่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในประเด็นสําคัญๆ และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ
  • ผู้เข้าร่วมประชุม ประมาณ 500 คน ตั้งแต่ผู้บริหารและผู้ปฎิบัติการจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งสถาบันการศึกษา สภาวิชาชีพ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ องค์กรอิสระด้านสุขภาพ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ภาคประชาสังคม ผู้ใช้บริการสุขภาพ ภาคเอกชน และอื่นๆ
  • รูปแบบการประชุม ดำเนินการโดยมีทั้ง plenary session, parallel session และ workshop
  1. งบประมาณและแหล่งงบประมาณ
  • การจัดประชุมและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องสนับสนุนโดย
    • มูลนิธิไชน่าเมดิคอลบอร์ด
    • สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผ่านโครงการขับเคลื่อนเครือข่ายพัฒนาการศึกษาวิชาชีพสุขภาพ ภายใต้แนวคิดการพัฒนาบุคลากรสุขภาพในศตวรรษที่ 21 และมูลนิธิพัฒนาการศึกษาบุคลากรสุขภาพแห่งชาติ
  • ผู้เข้าร่วมประชุมชาวไทย
    • ผู้ที่ได้รับเชิญเข้าร่วมประชุม สนับสนุนจากงบประมาณต้นสังกัด และค่าลงทะเบียนจาก 1
    • วิทยากรและผู้ถอดบทเรียน สนับสนุนโดยงบประมาณในข้อ 1
    • ผู้สนใจเข้าร่วม สนับสนุนค่าลงทะเบียน จากงบประมาณต้นสังกัด
  • การลงทะเบียนจะแจ้งให้ทราบภายหลัง

(รายละเอียดเพิ่มเติมจะแจ้งให้ทราบภายหลัง)

  1. ระยะเวลาในการจัดประชุม

การประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อการพัฒนาการศึกษาสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพ พ.ศ. 2565  “How Education Sector Responds to VUCA Health Systems” กําหนดจัดประชุม ระหว่างวันที่ 9-11 พฤศจิกายน 2565

  1. ผู้เข้าร่วมประชุม

ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้บริหาร คณาจารย์ ผู้ปฏิบัติงาน นักศึกษา วิชาชีพกายภาพบําบัด ทันตแพทย์ เทคนิคการแพทย์ พยาบาล แพทย์ แพทย์แผนไทย เภสัชกร สัตวแพทย์ และสาธารณสุข ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ประมาณ 500 คน จากหน่วยงานและสถาบันการศึกษา ที่เกี่ยวข้องด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ดังต่อไปนี้

  • กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • กระทรวงกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • คณะกายภาพบําบัด มหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ
  • คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ
  • คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ
  • คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัย และวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ
  • คณะแพทยศาสตร์ และศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกทั่วประเทศ
  • คณะการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ
  • คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ
  • คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัย และวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ
  1. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
  • ผู้เข้าร่วมประชุมความเข้าใจ ความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
  • มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ข้อคิดเห็นและกําหนดนโยบายของสหสาขาวิชาชีพสุขภาพ ตลอดจนฝ่ายสนับสนุนต่างๆ ทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ
  • เกิดความเชื่อมโยงและบูรณาการวิชาการในสหสาขาวิชาชีพอย่างเป็นรูปธรรม ก่อให้เกิดความร่วมมือที่ดีต่อไป
  • เกิดนวัตกรรมทางการศึกษาวิชาชีพสุขภาพในประเทศไทยในอนาคตเพื่อพัฒนาสุขภาวะที่ดีขึ้น

 

ขอบพระคุณท่านที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมการประชุมวิชาการ GIPEC2022

มูลนิธิพัฒนาการศึกษาบุคลากรสุขภาพแห่งชาติ (ศสช.)

เบอร์โทรติดต่อ : 097-117-5041

Fax: 02-589-2355

E-mail: healthprofessionals21@gmail.com

Website: http://www.healthprofessionals21thailand.org

Facebook: มูลนิธิพัฒนาการศึกษาบุคลากรสุขภาพแห่งชาติ – ศสช.