ขอเชิญพบกับรายการ Health Educator’s Talk EP7 – จักรวาลนฤมิตกับการเรียนการสอนเพื่อให้บริการผู้ป่วยด้วยความปลอดภัย
ผู้ดำเนินรายการ
ดร.จุฬารัตน์ ห้าวหาญ
วิทยากร
• ดร.ผ่องพรรณ ภะโว
อาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
• นางสาวศวัลย์ญา จันทา
นักศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
• นางสาวอวัสดา อินทรา
นักศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
Metaverse หรือ จักรวาลโลกคู่ขนาน หรือ จักรวาลนฤมิต เป็นการผสานเทคโนโลยีแห่งเสมือนและโลกของความเป็นจริงเข้าด้วยกัน สร้างสิ่งแวดล้อมของโลกจริงๆ และเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน เพื่อให้ผู้คนได้เข้ามาสื่อสาร มาปฏิสัมพันธ์กันและทำกิจกรรมร่วมกัน จักรวาลนฤมิตนี้จึงเหมาะกับการนำมาใช้ในการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา ซึ่งผู้เรียนอยู่ในวัยที่เทคโนโลยีแห่งโลกอนาคตช่วยดึงดูดความสนใจของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
ในการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิดนั้นพบว่ามีปัญหาในเรื่องการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ที่นำมาสู่ความจำเป็นที่จะต้องทำนวัตกรรมการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา ดังเช่นในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช และคิดพัฒนานวัตกรรมในการเรียนรู้เนื้อหาตามหลักสูตร โดยเฉพาะการพยาบาลผู้ป่วยจิตเวช ซึ่งพบว่าในกลุ่มผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า คือ ไม่สามารถจัดการกับอารมณ์เศร้าตนเองได้ ไม่มีที่ปรึกษา ไม่กล้ามาปรึกษาเพราะกลัวคนอื่นรู้ว่าเกิดปัญหาทางจิตใจขึ้นกับตนเอง กลัวคนอื่นว่าว่าไม่เข้มแข็ง บางคนรู้สึกอยากแสดงออกในพฤติกรรมที่ไม่ตรงกับเพศสภาพของตัวเองก็ไม่กล้าเก็บดกไว้จนเกิดภาวะซึมเศร้าขึ้น นำไปสู่การทำนวัตกรรมโลกเสมือนจริง หรือ “อวตาร” ซึ่งเหมาะกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
การทำ Metaverse หรือ จักรวาลนฤมิตนั้นไม่ยาก ไม่ได้เป็นการลงทุนที่แพง แต่เกิดประโยชน์อย่างมากมายมหาศาล