โครงการประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อการพัฒนาการศึกษาสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพ พ.ศ. 2565
The 2nd Global Interprofessional Education Conference: GIPEC 2022
ประเด็นหลัก “How Education Sector Responds to VUCA Health Systems”
ระหว่างวันพุธที่ 9 – 10 พฤศจิกายน 2565 และ
ประชุมเชิงปฏิบัติการ วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2565
ณ โรงแรมเดอะสุโกศล กรุงเทพ
- ชื่อโครงการ
1.1 ชื่อภาษาไทย
การประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อการพัฒนาการศึกษาสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพ พ.ศ. 2565
1.2 ชื่อภาษาอังกฤษ
The 2nd Global Interprofessional Health Professional Education Conference 2022
1.3 ชื่อย่อ
GIPEC 2022
1.4 ประเด็นหลัก (Theme) ของการประชุม
“How Education Sector Responds to VUCA Health Systems”
- หน่วยงานรับผิดชอบ
มูลนิธิพัฒนาการศึกษาบุคลากรสุขภาพแห่งชาติร่วมกับองค์กรทางการศึกษาบุคลากรสุขภาพ และสภาวิชาชีพสุขภาพทุกวิชาชีพ
- หลักการและเหตุผล
คณะกรรมการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การศึกษาสําหรับบุคลากรสุขภาพในศตวรรษที่ 21 (พ.ศ. 2561-พ.ศ.2570) ได้รับการแต่งตั้งโดยคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เพื่อดำเนินการขับเคลื่อนการปฏิรูปการ ศึกษาบุคลากรสุขภาพในระยะที่ 2 อย่างต่อเนื่อง จากแผนยุทธศาสตร์การศึกษาสําหรับบุคลากรสุขภาพในศตวรรษที่ 21 (พ.ศ. 2557-พ.ศ. 2561) โดยเน้นการมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่ายพัฒนาการศึกษาบุคลากรสุขภาพทุกสาขาวิชาชีพ ในรูปแบบเป็นทางการ ไม่เป็นทางการ และจิตอาสา
หนึ่งในกิจกรรมหลักของการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การศึกษาสําหรับบุคลากรสุขภาพคือการจัดประชุมวิชาการประจำปีเพื่อกําหนดนโยบายในการพัฒนาการศึกษาบุคลากรสุขภาพทุกสาขาวิชาชีพ ได้แก่ กายภาพบําบัด ทันตแพทย์ เทคนิคการแพทย์ พยาบาล แพทย์ แพทย์แผนไทย เภสัชกร สัตวแพทย์ และสาธารณสุข ซึ่งมีจุดมุ่งหมายให้บุคลากรวิชาชีพสุขภาพตระหนักถึงความสําคัญของการพัฒนาการศึกษาบุคลากรวิชาชีพสุขภาพ โดยเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกสาขาวิชาชีพ สถาบัน องค์กรภาครัฐ เอกชน และประชาชนจากทุกภาคส่วนกําหนดนโยบายจากหลักฐานทางวิชาการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กรณีศึกษา
ที่ผ่านมา คณะกรรมการขับเคลื่อนฯ ได้ดำเนินการจัดการประชุมวิชาการประจำปีระดับชาติ และระดับนานาชาติเพื่อการพัฒนาการศึกษาสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพมาอย่างต่อเนื่อง โดยหัวข้อประเด็นหลัก (Theme) ในการประชุมแต่ละปี กําหนดโดยความสอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์และวัตถุประสงค์ของการประชุม ดังนี้
- การประชุมวิชาการประจำปีระดับชาติ ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2557 “ปฏิรูปสถาบัน สู่สังคมการเรียนรู้ เพื่อสุขภาวะ” “Institutional Reform towards Learning Society for Health”
- การประชุมวิชาการประจำปีระดับชาติ ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2558 “ปฏิรูปการเรียนรู้ สู่สมรรถนะและหัวใจ” “Instructional Reform for Competent and Humanized Health Professionals”
- การประชุมวิชาการประจำปีระดับชาติ ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2559 “เรียนร่วมวิชาชีพ สู่ทีมสุขภาพไทย” “IPE towards Thai Health Team”
- การประชุมวิชาการประจำปีระดับชาติ ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2560 “เทคโนโลยีสารสนเทศ เสริมพลัง สร้างวิชาชีพสุขภาพ” “ICT to Empower Health Professional Education”
- การประชุมวิชาการประจำปีระดับชาติ ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2561 “ผนึกพลังภาคี ปฏิรูประบบสุขภาพ” “Synergizing Partners: The Key Health Systems Reform”
- การประชุมวิชาการประจำปีระดับชาติ ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562 “ประกันคุณภาพเชิงสร้างสรรค์ สู่คุณภาพการศึกษา” “Creative accreditation for better quality education”
- การประชุมวิชาการประจำปีระดับนานาชาติ ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2564 (The Global Interprofessional Education Conference: GIPEC 2021) “How Education sector responds to VUCA Health System” ในรูปแบบ Webinar Series และ Virtual conference ผ่าน Zoom webinar
โดยการประชุมทุกครั้งที่ผ่านมา มีผู้เข้าร่วมจากเครือข่ายการพัฒนาการศึกษาบุคลากรสุขภาพทั้งจากประเทศไทยและจากต่างประเทศ สำหรับการประชุมวิชาการประจำปีระดับนานาชาติ ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2565 (The Global Interprofessional Education Conference: GIPEC 2022) ในปีนี้ คณะอนุกรรมการจัดการประชุมววิชาการฯ ได้กําหนดหัวข้อหลักการประชุมครั้งนี้ คือ “How Education sector responds to VUCA Health System” มีจุดมุ่งหมายเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปการพัฒนาการศึกษาบุคลากรด้านสุขภาพ ภายใต้ความร่วมมือของสถาบันการศึกษา องค์กรวิชาชีพ สถาบันในระบบบริการสาธารณสุขชุมชน ตลอดจนเครือข่ายระบบสุขภาพระดับอําเภอ (District Health System) ในเขตบริการสุขภาพ เพื่อความร่วมมือในการดําเนินงานและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนบุคลากรสุขภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของระบบสุขภาพและชุมชน อย่างต่อเนื่อง ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ทั้งในสถานการณ์โรคระบาด สถานการณ์ฉุกเฉิน และในสถานการณ์ปกติ
การประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อการพัฒนาการศึกษาสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพ พ.ศ. 2565 เปิดเวทีเพื่อการปรึกษาหารือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินการปรับเปลี่ยนด้านการเรียนการสอนทั้งในสถาบันและในระบบสุขภาพในรูปแบบชีวิตวิถีใหม่ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์โรคระบาด การสะท้อนถึงกระบวนการจัดการเรียนการสอนจากผู้เรียน ผู้สอน ผู้บริหารสถาบัน องค์กรวิชาชีพ และผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ การนำเสนอรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม จากการศึกษา วิจัย กรณีศึกษา และวิเคราะห์สถานการณ์ เพื่อนํามากําหนดเป็นนโยบายระดับชาติด้านการพัฒนาการศึกษาบุคลากรสุขภาพในการปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดการเรียนการและการบริการสุขภาพภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉินในปัจจุบันและอนาคต เพื่อเตรียมความพร้อมของบุคลากรสุขภาพในการทำงานในชุมชน ทั้งในมิติด้านสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ จิตใจ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งทําให้ประชาชนมีสุขภาวะ และความเป็นอยู่ที่ดี มีความพร้อมรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุข
- วัตถุประสงค์
- เพื่อสร้างความเข้าใจ ความมุ่งมั่น และโมเมนตัมในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
- เพื่อพัฒนากลไกและกระบวนการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการพัฒนาการศึกษาสําหรับ บุคลากรด้านสุขภาพ
- เพื่อสนับสนุนการสร้าง จัดการและสื่อสารองค์ความรู้ในเรื่องการพัฒนาการศึกษาสําหรับบุคลากรด้านสุขภาพ
- สร้างขีดความสามารถและเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสาขาวิชาชีพและระหว่างสถาบันทั้งในระดับชาติและนานาชาติในการ พัฒนาการศึกษาสําหรับบุคลากรด้านสุขภาพ
- แลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมทางการศึกษาวิชาชีพสุขภาพ และร่วมสร้างงานวิจัยในพื้นที่เพื่อนํา องค์ความรู้ต่อยอดและขยายในการพัฒนาการศึกษาวิชาชีพสุขภาพเพื่อสุขภาพคนไทยที่ดีขึ้น
- รูปแบบการดำเนินการ
- จัดประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อการพัฒนาการศึกษาสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพ โดยเป็นกิจกรรมวิชาการและการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ไปพร้อมกัน ได้แก่การบรรยายจากวิทยากรผู้ทรง คุณวุฒิ ที่มีชื่อเสียง และได้รับการยอมรับ การสะท้อนถึงกระบวนการจัดการเรียนการสอนจากผู้เรียน ผู้สอน ผู้บริหารสถาบัน องค์กรวิชาชีพ และผู้มีส่วนได้เสียต่างๆการนําเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมการเรียนการสอน การแลกเปลี่ยน การนำเสนอรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม จากการศึกษา วิจัย กรณีศึกษา และวิเคราะห์สถานการณ์ เพื่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในประเด็นสําคัญๆ และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ
- ผู้เข้าร่วมประชุม ประมาณ 500 คน ตั้งแต่ผู้บริหารและผู้ปฎิบัติการจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งสถาบันการศึกษา สภาวิชาชีพ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ องค์กรอิสระด้านสุขภาพ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ภาคประชาสังคม ผู้ใช้บริการสุขภาพ ภาคเอกชน และอื่นๆ
- รูปแบบการประชุม ดำเนินการโดยมีทั้ง plenary session, parallel session และ workshop
- งบประมาณและแหล่งงบประมาณ
- การจัดประชุมและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องสนับสนุนโดย
- มูลนิธิไชน่าเมดิคอลบอร์ด
- สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผ่านโครงการขับเคลื่อนเครือข่ายพัฒนาการศึกษาวิชาชีพสุขภาพ ภายใต้แนวคิดการพัฒนาบุคลากรสุขภาพในศตวรรษที่ 21 และมูลนิธิพัฒนาการศึกษาบุคลากรสุขภาพแห่งชาติ
- ผู้เข้าร่วมประชุมชาวไทย
- ผู้ที่ได้รับเชิญเข้าร่วมประชุม สนับสนุนจากงบประมาณต้นสังกัด และค่าลงทะเบียนจาก 1
- วิทยากรและผู้ถอดบทเรียน สนับสนุนโดยงบประมาณในข้อ 1
- ผู้สนใจเข้าร่วม สนับสนุนค่าลงทะเบียน จากงบประมาณต้นสังกัด
- การลงทะเบียนจะแจ้งให้ทราบภายหลัง
(รายละเอียดเพิ่มเติมจะแจ้งให้ทราบภายหลัง)
- ระยะเวลาในการจัดประชุม
การประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อการพัฒนาการศึกษาสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพ พ.ศ. 2565 “How Education Sector Responds to VUCA Health Systems” กําหนดจัดประชุม ระหว่างวันที่ 9-11 พฤศจิกายน 2565
- ผู้เข้าร่วมประชุม
ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้บริหาร คณาจารย์ ผู้ปฏิบัติงาน นักศึกษา วิชาชีพกายภาพบําบัด ทันตแพทย์ เทคนิคการแพทย์ พยาบาล แพทย์ แพทย์แผนไทย เภสัชกร สัตวแพทย์ และสาธารณสุข ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ประมาณ 500 คน จากหน่วยงานและสถาบันการศึกษา ที่เกี่ยวข้องด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ดังต่อไปนี้
- กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- กระทรวงกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- คณะกายภาพบําบัด มหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ
- คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ
- คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัย และวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ
- คณะแพทยศาสตร์ และศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกทั่วประเทศ
- คณะการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ
- คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ
- คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัย และวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ
- ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- ผู้เข้าร่วมประชุมความเข้าใจ ความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
- มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ข้อคิดเห็นและกําหนดนโยบายของสหสาขาวิชาชีพสุขภาพ ตลอดจนฝ่ายสนับสนุนต่างๆ ทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ
- เกิดความเชื่อมโยงและบูรณาการวิชาการในสหสาขาวิชาชีพอย่างเป็นรูปธรรม ก่อให้เกิดความร่วมมือที่ดีต่อไป
- เกิดนวัตกรรมทางการศึกษาวิชาชีพสุขภาพในประเทศไทยในอนาคตเพื่อพัฒนาสุขภาวะที่ดีขึ้น
ขอบพระคุณท่านที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมการประชุมวิชาการ GIPEC2022
มูลนิธิพัฒนาการศึกษาบุคลากรสุขภาพแห่งชาติ (ศสช.)
เบอร์โทรติดต่อ : 097-117-5041
Fax: 02-589-2355
E-mail: healthprofessionals21@gmail.com
Website: http://www.healthprofessionals21thailand.org
Facebook: มูลนิธิพัฒนาการศึกษาบุคลากรสุขภาพแห่งชาติ – ศสช.